ยินดีต้อนรับ ร้านปืดการเกษตร กลการ ขายหญ้าแฝก เก็บเงินปลายทาง หญ้าแฝกพระราชทาน ขายหญ้าแฝกถุงชำ รับปลูกหญ้าแฝกราคาโดนใจ ทั่วไทย รับผิดชอบต่อสินค้าและการบริการ เราขายโดยตรง ไม่ผ่านนายหน้า เรามีทีมงานคอยจัดส่งที่มีประสบการณ์ พร้อมไห้คำปรึกษายินดีต้อนรับ จากวิชัย เจ้าของร้าน ขอบคุณลูกค้าอุดหนุนมาโดยตลอดครับ เบอร์โทร. 098-1979498 Line: Puednaibra E-mail: wichaizagroup@gmail.com

ขอบคุณลูกค้า ออนไลน์ ที่อุดหนุน และใว้ใจมาตลอด ร้านก่อตั้งปี 2012 ครับ




วันจันทร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2560

หญ้าแฝกหอม- http://taladyaphak.blogspot.com/

                                                🔺🔺🔺หญ้าแฝกหอม🔻🔻🔻
มาพบกับเรากับเราอีกครั้งนะครับ ถ้าลูกค้าสอบในหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีหลายประเภท วันนี้เราจึงนำเอาหญ้าแฝกหอม มาแนะนำบ้างครับ ส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าแฝกลุ่ม วันนี้จึงเอา หญ้าแฝกหอม  มาแนะนำ มาให้ความรู้ สำหรับคนที่ชอบและอยากหาความรู้ เกี่ยวกับหญ้าแฝกหอม

⤔⤔⤔หญ้าแฝก มีหน้าตายังไง มาดูกัน 




 ลำต้น:

 จะเป็นกอขนาดขนาด 30เซ็นติเมตร ลำต้นจะไม่มีเยอะ ไม่เหมือนหญ้าแฝกลุ่ม ส่วนมากจะมีแต่ใบ แต่จะมีดอกมาให้ชื่นชม อยู่บ้าง จะชอบในบริเวณดินทราย ที่สูงๆ เท่านั้น ลำต้นจะเป็นแบนๆ เบียดเสียดกันแน่น

ใบ:

                                                ไพหญ้ามุงหลังคา
 จะมีลักษณะยาว 50-100เมตร เริ่มมาจากโคลนต้นเลย
ขอบใบและเส้นกลางใบมีหนามละเอียด คมมาก
มีหลังใบโค้งปลายแบน มีสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างเนียน มีไขเคลือบ (wax) มากทำให้ดูมัน ท้องใบออกสีขาวซีดกว่าด้านหลังใบ และเมื่อนำไปส่องดูกับแสงจะเห็นรอยกั้นขวางเนื้อใบ (septum) ชัดเจน โดยเฉพาะพื้นใบบริเวณส่วนโคนและกลางใบ เส้นกลางใบ (mid rib) ฝังตัวอยู่ใต้แผ่นใบ ไม่โตหรือเด่นชัดเจน

ราก: จะมีลักษณะเป็นฝอยๆ สานกันไปมา แตกแพร่ไปด้านข้าง เป็นกอขนาดใหญ่ 

หยังลึกลงดิน 100-150เว็นติเมตร รากมีกลิ่นหอม โดยชัดเจน 
ความแตกต่างของลักษณะภายในรากหญ้าแฝกหอมและหญ้าแฝกดอนที่เห็นได้ชัดเจนคือ รากหญ้าแฝกหอมมีโพรงอากาศ (air space) ในบริเวณคอร์เทกซ์ (cortex) ขนาดใหญ่กว่าแฝกดอน อย่างไรก็ตามลักษณะภายในของรากหญ้าแฝกมีลักษณะเหมือนกับรากพืชน้ำ (hydrophyte) ดังนั้นหญ้าแฝกโดยเฉพาะแฝกหอมจึงสามารถทนน้ำท่วมขังได้ดี 

หญ้าแฝกหอมเป็นพืชชนิดที่สะสมน้ำมันหอมไว้ที่ส่วนราก คนไทยสมัยก่อนใช้รากหญ้าแฝกเป็นเครื่องหอมอบเสื้อผ้า ไล่แมลงและกลิ่นอับในตู้เสื้อผ้า และใช้ผสมกับน้ำมันให้เกิดกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังใช้ส่วนรากเป็นสมุนไพรรักษาโรคด้วย ในปัจจุบันยังสามารถหาซื้อรากหญ้าแฝกได้ตามร้านขายยาแผนโบราณ นับว่าหญ้าแฝกเป็นพืชหนึ่งที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนไทยเรามาแต่โบราณกาล

ดอกหญ้าแฝกหอม:


ดอกหญ้า (Spikelets) หญ้าแฝกจะมีดอกหญ้าเรียงตัวอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ๆ มีลักษณะและมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ละคู่ประกอบด้วยดอกชนิดที่ไม่มีก้าน (sessile spikelet) และดอกชนิดมีก้าน (pedicelled spikelet) ยกเว้นที่ส่วนปลายของก้านช่อย่อยมักจะจัดเรียงเป็น 3 ดอกอยู่ด้วยกัน ดอกที่ไม่มีก้านจะอยู่ด้านล่าง ส่วนดอกที่มีก้านจะชูอยู่ด้านบน ดอกที่ไม่มีก้านดอกจะเป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีทั้งเกสรผู้และเกสรเมียอยู่ด้วยกัน (bisexual spikelet) ส่วนดอกมีก้านจะเป็นดอกตัวผู้ (male spikelet) ที่มีแต่เกสรผู้อยู่ภายใน แต่ละดอกประกอบไปด้วยดอกย่อย (floret) อีก 2 ดอก แต่ส่วนมากจะมีการลดรูป หรือเจริญไม่สมบูรณ์ จนเหลือดอกย่อยเพียงดอกเดียวกับดอกย่อยเปล่า ๆ ที่มีแต่กาบคลุม

ดอกหญ้าแฝกมีรูปร่างคล้ากระสวย ปลายสอบ ขนาดของดอกกว้าง 1.5-2.5 มม. ยาว 2.5-3.5 มม. ด้านหลังของดอกมีผิวขรุขระ มีหนามแหลมขนาดเล็ก (spinulose) โดยเฉพาะที่บริเวณขอบเห็นได้ชัดเจนเมื่อส่องดูด้วยแว่นขยายด้านล่างผิวเรียบ 


 


การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกหอม

     ใช้เป็นสมุนไพร เครื่องหอม และน้ำหอม
หญ้าแฝกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากมาย และใช้ประโยชน์ได้ไม่ว่าจะเป็นใบหรือราก การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก อาจสรุปได้ดังนี้
1. การใช้ประโยชน์เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
    - การปลูกเป็นแถวตามแนวระดับ ขวางความลาดเท
    - การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดิน
    - การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของชั้นบันไดดินหรือคันคูรองรับน้ำรอบเขา
    - การใช้หญ้าแฝกเพื่อการป้องกันตะกอนดินลงสู่ทางน้ำ
2. การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์
3. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาการกัดเซาะของน้ำจากแม่น้ำบริเวณคอสะพาน
4. การใช้ประโยชน์แบบอื่น ๆ
    - ใช้มุงหลังคา
    - ใช้ในคอกสัตว์ รองนอนในเล้าสัตว์
    - ใช้เป็นปุ๋ยหมักและพืชคลุมดิน
    - ใช้รากแห้งแขวนในตู้เสื้อผ้า ทำให้มีกลิ่นหอม ไล่แมลง
    - ใช้รากแห้งมาทำพัด สำหรับพัดให้ความเย็น และเกิดกลิ่นหอมเย็น
    - ใบใช้เลี้ยงสัตว์






สนใจสั่งซื้อหญ้าแฝก หรือสินค้าการเกษตร ติดต่อที่คุณวิชัย
โทรศัพท์: 098-1979498
เฟสบุ๊ค: https://www.facebook.com/puedkankasetvetiver
ไลน์เพจ: http://line.me/ti/p/yy0tIQmBoV

เขียนโดย: https://taladyaphak.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น